การวางแผนและควบคุมโครงการด้วยเทคนิค PERT และ
CPM
1. แนวคิดเกี่ยวกับ PERT และ CPM
ในการบริหารงานโครงการขนาดใหญ่
ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ มากมายจำเป็นต้องมีการวางแผน กำหนดขั้นตอนในการทำงาน และควบคุมความก้าวหน้าของโครงการเป็นอย่างดี
ในปัจจุบันเทคนิคของการบริหารโครงการที่นิยมใช้กัน ได้แก่ Gantt Chart , เทคนิค PERT และ CPM
แผนภูมิแกนต์ (Gantt Chart) กับงานโครงการ
Gantt Chart เป็นเทคนิคที่คิดขึ้นในปี พ.ศ. 2460 โดย Henry L, Gantt เพื่อใช้ในการวางแผนเกี่ยวกับเวลา ใน Gantt Chart จะใช้แท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้าแทนกิจกรรมแต่ละกิจกรรม ที่เริ่มต้นและสิ้นสุดที่เวลาต่างๆ
กัน ดังในภาพข้างล่าง
กิจกรรม
กิจกรรม ก.
กิจกรรม ข.
กิจกรรม ค.
กิจกรรม ง.
1 2 3 4 5 6 เวลา (สัปดาห์)
จากแผนภูมิจะเห็นว่า แท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ใช้แสดงกิจกรรมแต่ละกิจกรรมนั้น
จะบอกถึงระยะเวลาที่ใช้ , จุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุด ของกิจกรรมแต่ละกิจกรรม เช่น กิจกรรม ก. ใช้เวลาทำงาน 2 สัปดาห์ เริ่มต้นที่ สัปดาห์ที่
1 และสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 3 กิจกรรม ข. ใช้เวลา 2 สัปดาห์ครึ่ง เริ่มต้นที่สัปดาห์ที่
2 สิ้นสุดที่กลางสัปดาห์ที่ 4 เป็นต้น แต่
Gantt Chart ยังไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของกิจกรรมต่างๆ
ได้อย่างชัดเจน เทคนิค
PERT และ CPM จึงถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากกว่า
เทคนิค PERT และ
CPM
เทคนิคการประเมินผลและทบทวนโครงการ (Program Evaluation
and Review Technique : PERT) และ ระเบียบวิธีวิกฤต (Critical Path Method : CPM) เป็นเทคนิคเชิงปริมาณด้านการวิเคราะห์ข่ายงาน
(Network analysis) ที่ใช้กันแพร่หลายในการวางแผนและควบคุมงานที่มีลักษณะเป็นงานโครงการ
(งานที่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด และสามารถกระจายเป็นงานย่อยที่มีความสัมพันธ์กันได้)
ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารโครงการสามารถดำเนินโครงการให้สำเร็จตามเวลาและในงบประมาณที่กำหนด
PERT พัฒนาขึ้นเมื่อ
พ.ศ. 2501โดยกองทัพเรือสหรัฐร่วมกับ บูซ
แอลเลน และ แฮมิลตัน (Booz Allen and Hamilton) และ ล๊อกฮีด แอร์คราฟต์
(Lockheed Aircraft) เพื่อใช้ในการบริหารโครงการขีปนาวุธโพลาริส
(Polaris) ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ ประกอบด้วยผู้รับเหมาช่วง
(Subcontractor) มากกว่า 9,000 ราย ลักษณะของโครงการเป็นการวิจัยและพัฒนา
และมีการผลิตส่วนประกอบใหม่ๆ ซึ่งไม่เคยมีผู้ใดผลิตมาก่อน ดังนั้นการประมาณระยะเวลาในการดำเนินการต่างๆ
ในโครงการจึงไม่สามารถกำหนดลงไปได้แน่นอน ตายตัว จำเป็นต้องนำเอาแนวความคิดของความน่าจะเป็น
(probability concept) เข้ามาประกอบด้วย จึงอาจกล่าวได้ว่า จุดเด่นของ
PERT คือ การสามารถนำไปใช้กับโครงการที่มีเวลาดำเนินงานไม่แน่นอน
CPM พัฒนาขึ้นเมื่อ
พ.ศ. 2500 โดเคลลี (J.E. Kelly)
แห่งเรมิงตัน แรนด์ (Remington Rand) ร่วมกับวอล์กเกอร์
(M.R. Walker) แห่งบริษัทดูปองต์ (Dopont) เพื่อใช้ในโครงการก่อสร้างและซ่อมบำรุงเครื่องจักรในโรงงานเคมี
โดยเน้นในด้านการวางแผนและควบคุมเวลา ตลอดจนค่าใช้จ่ายโครงการ CPM มักจะนำไปใช้กับโครงการที่ผู้บริหารเคยมีประสบการณ์มาก่อนและสามารถประมาณเวลารวมทั้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของโครงการได้แน่นอน
2. โครงข่ายงาน (Network)
ข่ายงาน (Network)
คือ แผนภูมิหรือไดอะแกรมที่เขียนขึ้นแทนกิจกรรมต่างๆ
ที่ต้องทำในโครงการ โดยแสดงลำดับก่อนหลังของกิจกรรม
เทคนิค
PERT และ CPM จะใช้ และ มาช่วยในการทำงาน
โดยมีหลักเกณฑ์ในการเขียนโครงข่ายงานดังนี้
หลักเกณฑ์การเขียนโครงข่ายงาน
1.
งาน 1 งาน จะเขียนแทนด้วยลูกศร 1
อัน ซึ่งมักเป็นเส้นตรง
2.
ที่หัวลูกศรและหางลูกศรจะต้องมีวงกลมติดอยู่ที่เรียกว่า
เหตุการณ์ (Even
หรือ Node)
3. การวิเคราะห์ข่ายงาน
เมื่อทำการสร้างข่ายงานเพื่อแสดงความสัมพันธ์ของกิจกรรมต่างๆ
เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการวิเคราะห์ข่ายงานที่สร้างขึ้น
เพื่อหาสายงานวิกฤติ ซึ่งก็คืองานต่างๆ
ที่มีความสำคัญเป็นงานที่กำหนดและควบคุมการเสร็จของโครงการ
ซึ่งสายงานวิกฤตินี้จะมีระยะเวลายาวนานที่สุดของโครงการ
ซึ่งระยะเวลาการดำเนินของสายงานวิกฤติ เรียกว่า ระยะเวลาวิกฤติ (Critical time)
การคำนวณหาสายงานวิกฤติ
การคำนวณสายงานวิกฤติของเทคนิค
PERT และ CPM นั้นไม่ต่างกัน
แต่ในที่นี้จะเริ่มจากการศึกษาวิธีการของ CPM ก่อน เนื่องจาก
CPM นั้นมีระยะเวลาในการปฏิบัติงานที่แน่นอน
สัญลักษณ์ที่ใช้ในการคนวณเพื่อกำหนดงาน
มีดังต่อไปนี้
สัญลักษณ์ |
ความหมาย |
|
ES
LS
EF
LF
TF
FF
t
|
earliest start
time
latest start time
earliest finish
time
latest finish time
total float
free float
|
เวลาเร็วที่สุดที่จะเริ่มต้นทำกิจกรรมได้
เวลาช้าที่สุดที่จะเริ่มต้นทำกิจกรรมนั้นๆ
โดยไม่ทำให้เวลาของโครงการเปลี่ยนไป
เวลาเสร็จสิ้นอย่างเร็วที่สุดของแต่ละกิจกรรม
เวลาเสร็จสิ้นอย่างช้าที่สุดของแต่ละกิจกรรม
โดยไม่ทำให้เวลาของโครงการเปลี่ยนไป
เวลารวมที่กิจกรรมจะล่าช้าได้โดยไม่มีผลกระทบต่อเวลาของโครงการ
ระยะเวลาที่กิจกรรมจะล่าช้าได้โดยไม่มีผลกระทบต่อเวลาของโครงการ
เวลาทำงานของกิจกรรม
|
การคำนวณหาเวลาเริ่มต้นเร็วที่สุด (ES) และเวลาเสร็จสิ้นเร็วที่สุด
(EF)
EF = ES + t |
ES = max{EF ของกิจกรรมที่ทำก่อนหน้า} |
การคำนวณหาเวลาเริ่มต้นช้าที่สุด (LS) และเวลาเสร็จสิ้นช้าที่สุด
LS = LF - t |
LF = min{LS ของกิจกรรมที่ตามมา}
|
การคำนวณหาเวลาที่เหลือ
-
เวลาที่เหลือทั้งหมด ( Total Float) :
TF
คือ
จำนวนเวลาที่เหลือที่งานจะเลื่อนออกไปได้ โดยที่ไม่ทำให้โครงการเสร็จช้ากว่ากำหนด
TF = LS
- ES
TF = LF
- EF
|
-
เวลาที่เหลืออิสระ ( Free Float) : FF
คือ
จำนวนเวลาที่เหลือที่งานจะเลื่อนออกไปได้ โดยที่ไม่มีผลกระทบกับงานถัดไป
FF = ES ของงานที่ตามมา - EF |
งานวิกฤติ (Critical
Activities) คืองานที่มีเวลาเหลือทั้งหมดเป็น 0
(TF = 0) ซึ่งเป็นงานที่ควบคุมการเสร็จสิ้นของโครงการ
เส้นทางวิกฤติคือ เส้นทางที่เป็นเส้นทางของงานวิกฤติ และเป็นเส้นทางที่ใช้เวลาในการดำเนินโครงการนานที่สุด
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น